5 สัญญาณเสี่ยงเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด


ปัจจุบันอาหารการกินมีให้เลือกกินหลากหลาย มีทั้งอาหารที่เป้นประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ซึ่งอาหารพวกบุฟเฟห์แนวอาหารขยะเป็นอาหารที่ผู้คนชอบกินมาก ทำให้เกิดผลกระทบตามมากับร่างกายของคนกิน ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน แล้วก็ตามมาอีกหลายๆโรค หนึ่งในนั้นก็คือ โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด ใครๆ ก็รู้ถึงอันตรายของโรคนี้ดี โดยเฉพาะคนอ้วนจะมีความเสี่ยงสูง แต่เมื่อไรเราถึงจะเริ่มรู้ตัวว่าเราอาจกำลังเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด มีวิธีสังเกตตัวเองง่ายๆ มากฝากกันค่ะ

1. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันได เดินขึ้นเนิน หรือออกกำลังกายเบาๆ ก็เหนื่อย

2. เวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม

3. ปวดศีรษะมาก เมื่อลุกขึ้นจากที่นอน หรือลุกนั่งเร็วๆ

4. ใจสั่น ใจเต้นเร็ว ปลายมือปลายเท้าเย็น

5. แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ

ลักษณะอาการโดยทั่วไปจะคล้ายๆ กับโรคหัวใจ ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตีบ เพราะมีเลือดไหลเวียนในหัวใจไม่เพียงพอ เลือดจึงไม่สามารถสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ และทำให้เรามีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายนั่นเอง

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด

1. น้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน

2. ทานอาหารที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายเป็นจำนวนมากเกินไป และไม่ทานผัก

3. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4. อายุมาก และเพศชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง

5. ประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดตีบ แตก หรือเบาหวาน ความดันไขมัน

6. สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

7. มีภาวะเครียดจากการทำงาน และเรื่องอื่นๆ ไม่ค่อยขยับร่างกายในแต่ละวัน


ปัจจัยไหนที่เราหลีกเลี่ยงได้ ขอให้ทำเป็นประจำนะคะ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ควรลดไขมัน ทานผักให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน ลดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เท่านี้คุณก็ห่างไกลโรคไขมันอุดตันเส้นเลือดแล้วล่ะ

แต่เมื่อเกิดโรคขึ้นมาแล้วก็ต้องรักษา อาจจะรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน หรืออีกทางเลือกในการกินยาสมุนไพร เช่น ยาน้ำสมุนไพรโหย่งเหิง หรือ ยาเม็ดสมุนไพรโหย่งหมิง ซึ่งมีทั้งตัวยาที่ช่วยรักษาโรค ปรับสภาพสมดุลของร่างกาย และขับสารพิษออกจากร่างกายด้วย  

 เครดิต : Sanook! Health

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็บคอมากขนาดไหน สังเกตตัวเองด่วนว่าเป็น ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือไม่ !!

FISH OIL น้ำมันปลา ดีต่อสุขภาพอย่างไร เรื่องที่คุณต้องรู้

“ไม่ฟอกไต ฟอกเลือด ล้างไต” ได้หรือไม่?