“ไม่ฟอกไต ฟอกเลือด ล้างไต” ได้หรือไม่?




สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง มักจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นมานานๆ โรคไตอักเสบเรื้อรัง รวมทั้งนิ่วในไต


การล้างไต ทำให้โรคไตวายหายหรือไม่ ? 

การล้างไต ไม่ทำให้โรคไตวายหาย แต่เป็นการทำงานแทนไต คือ ล้างเอาน้ำและของเสียออกจากร่างกาย เมื่อหยุดล้างไต ของเสียในเลือดก็จะสะสมขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จึงต้องล้างไตเป็นประจำ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้


เมื่อล้างไตแล้วผู้ป่วยจะดีขึ้นไหม ? 

ถ้าล้างไตได้พอเพียงและสม่ำเสมอ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น รับประทานอาหารได้ ไม่ซึม มีคุณภาพชีวิตที่ดีพอสมควร แต่ผู้ป่วยต้องควบคุมอาหาร มารับการล้างไตเป็นประจำ และรับประทานยาหลายขนาน


ล้างไตแล้วผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร ? 

ผู้ป่วยจะอยู่ได้นานเท่าไร ขึ้นอยู่กับโรคอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมีร่วมด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นไตวาย มักมีโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ มักจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน สำหรับผู้ป่วยไตวายที่มีแต่โรคไต ไม่มีโรคร้ายแรงอื่นร่วมอยู่ด้วย มักอยู่ได้นานกว่า 5 ปี ถ้าล้างไตดีๆ

ค่าใช้จ่ายในการล้างไตแพงมากไหม ?
 

ค่าใช้จ่ายในการล้างไต ในปัจจุบันยังมีราคาแพง เพราะเครื่องมือและอุปกรณ์มีราคาแพง โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการล้างไต ด้วยการฟอกเลือดประมาณ 2 - 3 หมื่นบาทต่อเดือน การล้างไตต้องทำประจำ ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากในระยะยาว มูลนิธิโรคไตพยายามให้บริการล้างไต ด้วยการฟอกเลือดในราคาถูก แต่มีจำนวนเครื่องฟอกเลือดจำกัด ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้หมด โรงพยาบาลของรัฐ ก็พยายามเพิ่มบริการฟอกเลือด แต่ก็รับได้จำกัดเช่นกัน จึงให้การรักษา ด้วยการล้างทางหน้าท้องมากกว่า ค่าใช้จ่ายของการล้างไต โดยวิธีล้างทางหน้าท้อง ถูกกว่าการฟอกเลือดประมาณ 10 - 20 %

มีข้อพิจารณาอย่างไรบ้าง ในการตัดสินใจว่าควรล้างไตหรือไม่ ? 

เนื่องจากการล้างไต ต้องทำไปตลอด ผู้ป่วยและญาติต้องตัดสินใจว่า จะรักษาอย่างไร จะล้างไต หรือเพียงประคับประคอง ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจว่า ควรล้างไตหรือไม่ ได้แก่
  
1. ความต้องการของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ล้างไตประจำ ต้องปรับวิถีชีวิตของตนเองพอสมควร ต้องจำกัดอาหารหลายอย่าง ไปโรงพยาบาลรับการฟอกเลือด หรือล้างไตทางหน้าท้องเป็นประจำ รับประทานยาหลายขนาน บางครั้งอาจมีอาการเพลียและเหนื่อย ผู้ป่วยบางคนปรับตัวไม่ได้  

2. ความต้องการของญาติ ญาติเป็นผู้รับภาระในการดูแลผู้ป่วยมาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และต้องพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเป็นประจำ ญาติจึงมีส่วนสำคัญในการเลือกการรักษา

3. สภาพของผู้ป่วยเอง มีโรคร้ายแรงอื่นร่วมหรือไม่ ทุพพลภาพหรือไม่ ถ้าป่วยหนักจากโรคร้ายแรงอื่นด้วย การล้างไตก็ไม่ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นเท่าใดนัก จึงไม่เหมาะสมที่จะล้างไต

4. ฐานะทางเศรษฐกิจ การล้างไตมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องทำประจำ ผู้ป่วยและญาติต้องดูว่า การรักษาระยะยาว จะทำให้ครอบครัวเดือดร้อนหรือไม่ 

ก่อนตัดสินใจล้างไต ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ประกอบกับคำแนะนำของแพทย์ ดูว่ามีกำลังพอหรือเปล่า เพราะญาติต้องรับภาระมาก ในการดูแลเป็นเวลานาน

จะปรึกษาและรักษาโรคไตได้ที่ไหนบ้าง ? 


โรงพยาบาลรัฐบาลที่มีการล้างไต มีเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งมีเครื่องฟอกเลือดจำนวนไม่เพียงพอ ต่อจำนวนผู้ป่วยไตวาย จึงให้การรักษาส่วนใหญ่เป็นแบบล้างทางหน้าท้อง (CAPD)

มูลนิธิโรคไตให้บริการฟอกเลือด ด้วยราคาถูก ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ถึงแม้จะมีเครื่องฟอกเลือดมาก แต่ก็ยังไม่พอ ต่อความต้องการของผู้ป่วยไตวาย จึงจำกัดไว้เฉพาะผู้ป่วยไตวาย ที่อายุน้อย และรอเปลี่ยนไตอยู่

เนื่องจากบริการล้างไตของภาครัฐไม่เพียงพอ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องใช้บริการ ของโรงพยาบาลเอกชนที่มีบริการล้างไต ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีฟอกเลือด


“ไม่ฟอกไต” ได้หรือไม่?


                    การดูแลรักษาแบบประคับประคองในไทย  มักได้ยินบ่อยในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย  ที่ไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดใด ๆ  ถ้าพูดถึงการรักษาแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  อาจยังไม่เป็นที่คุ้นหูนักสำหรับคนไทย  แต่ในบางประเทศได้มีการศึกษาและใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสำหรับผู้ป่วยโรคไตมาหลายปีแล้ว


                    แล้วเมื่อจำเป็นต้องรับการรักษาโรคไตเรื้อรัง  ควรเลือกวิธีไหน ?  ปัจจุบันมีทางเลือกต่อการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย 3 ทาง  คือ


                    1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม  หรือการล้างไตทางช่องท้อง


                    2. การผ่าตัดเปลี่ยนไต


                    3. การรักษาแบบประคับประคอง                  


                    ทางเลือกที่ 1 และ 2 ถือเป็นการรักษาตามมาตรฐาน  สำหรับการรักษาแบบประคับประคองนั้นเป็นการดูแลรักษาตามอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตที่เป็นอยู่  เช่น  การควบคุมเรื่องภาวะบวมน้ำ  ภาวะสมดุลเกลือแร่ที่เปลี่ยนแปลง  ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย  การรักษาภาวะโลหิตจาง  รักษาเรื่องความเจ็บปวด  ปัญหาทางสุขภาพจิต  ทางสังคม  และทางจิตวิญญาณ  แต่การรักษานี้ยังไม่ถือเป็นการรักษามาตรฐาน  ดังนั้นหากผู้ป่วยหรือครอบครัวสมัครใจเลือกการดูแลแบบประคับประคอง  นั่นหมายถึงสามารถยอมรับในภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้  หรืออาจเลือกวิธีนี้หากโรคนั้นไม่ตอบสนองต่อวิธีที่รักษาอยู่  และควรเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ญาติ และทีมแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย


                    นอกจากนี้แม้ว่าผู้ป่วยจะเลือกวิธีที่ 3  แต่ก็สามารถเปลี่ยนใจมารักษาด้วยการฟอกเลือดได้ในภายหลัง  หรือหากได้รับการฟอกเลือดอยู่แล้วก็สามารถตัดสินใจหยุดการรักษาได้เช่นกัน  แต่การตัดสินใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  จึงควรทำร่วมกับคนใกล้ชิดและปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางโรคไตหรือทีมโรคไต  ขอแนะนำว่าควรศึกษาข้อดีและข้อเสียตลอดจนผลที่ตามมาอย่างรอบคอบ  ร่วมกับการประเมินสภาพร่างกายจากแพทย์ผู้รักษา  ในบางรายนั้นอาจเหมาะที่จะรับการรักษาแบบประคับประคอง  หากในกรณีที่การรักษาแบบที่ 1 และ 2 ไม่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นก็ได้


แต่เดี๋ยวก่อนยังมีทางเลือกอีกทาง จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้มีการรักษาจากแพทย์แผนทางเลือกควบคู่กันไปด้วย โดยใช้ยาสมุนไพรบำบัด ซึ่งไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาแผนปัจุบัน เช่น เช่น ยาน้ำสมุนไพรโหย่งเหิง หรือ ยาเม็ดสมุนไพรโหย่งหมิง ซึ่งมีตัวยาสมุนไพร เช่น ตังถั่งเฉ้าปัก,เต็กย้ง(เขากวาง),เก๊ากี๊,โต่วต๋ง ซึ่งช่วยบำรุงไต ฟอกเลือด และอีกกว่า กว่า 30 ชนิด ที่ช่วยปรับสภาพสมดุลของร่างกายปรับสภาพเลือด ฟอกเลือดโดยสมุนไพรธรรมชาติ และขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยบำบัดรักษาโรคแห่งความเสื่อมต่างๆ 




เครดิต: โรงพยาบาลกมลาไสย,กลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลลำปาง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็บคอมากขนาดไหน สังเกตตัวเองด่วนว่าเป็น ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือไม่ !!

FISH OIL น้ำมันปลา ดีต่อสุขภาพอย่างไร เรื่องที่คุณต้องรู้