ปรับชีวิตเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง โรคกระดูกพรุน




โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้


การขาดแคลเซียมเป็นสาเหตุหลักของ "โรคกระดูกพรุน" แต่ทราบหรือไม่ว่า นอกจากการดื่มนมไม่เพียงพอแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง





1. การสูบบุหรี่ : แคลเซียมรักษาความเป็นกรด – ด่าง ของเลือด แต่การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรดสูงทำให้แคลเซียมละลายออกจากกระดูก

2. แอลกอฮอล์ : ลดประสิทธิภาพการกระตุ้นวิตามินดีไปดูดแคลเซียมจากตับ

3. กาเฟอีน : เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา ช็อกโกแลต กาแฟ ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากเกินจำเป็น

4. น้ำอัดลม : กรดฟอสฟอริกที่ทำให้เกิดฟองฟู่ชวนดื่ม ทำให้ร่างกายต้องสลายแคลเซียมจากคลังกระดูก เพื่อรักษาระดับฟอสฟอรัสในเลือดไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตราย

5. เกลือ : เมื่อเข้าสู่ร่างกายมากไปจะทำให้แคลเซียมสลายตัว

6. ยาเคลือบกระเพาะ : มักมีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมที่ทำให้ร่างกายขับแคลเซียม ก่อนรับประทานควรปรึกษาแพทย์

7. ไม่ออกกำลังกาย : มีรายงานว่า การออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลก เช่น การวิ่ง จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกส่วนการว่ายน้ำและฝึกโยคะจะช่วยรักษาปริมาณมวลกระดูก

8. ขาดวิตามินดีจากแสงอาทิตย์ : วิตามินดีจากแดดตอนเช้าจะช่วยดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอันควรได้





ลองปรับการดำเนินชีวิตโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้ง 8 ข้อ นี้ เพื่อความแข็งแรงของกระดูกและทำให้เราไม่เป็น โรคกระดูกพรุน อีกด้วย


ทังนี้จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้มีการรักษาจากแพทย์แผนทางเลือกควบคู่กันไปด้วย โดยใช้ยาสมุนไพรบำบัด ซึ่งไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาแผนปัจุบัน เช่น เช่น ยาน้ำสมุนไพรโหย่งเหิง หรือ ยาเม็ดสมุนไพรโหย่งหมิง ซึ่งมีตัวยาสมุนไพรกว่า30 ชนิด ที่ช่วยปรับสภาพสมดุลของร่างกาย และขับสารพิษออกจากร่างกายด้วย





เครดิต : นักโภชนากรสุภิญญา ธีรฐิติธรรม โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็บคอมากขนาดไหน สังเกตตัวเองด่วนว่าเป็น ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือไม่ !!

FISH OIL น้ำมันปลา ดีต่อสุขภาพอย่างไร เรื่องที่คุณต้องรู้

“ไม่ฟอกไต ฟอกเลือด ล้างไต” ได้หรือไม่?