ปลูกผักในกระบอกไม้ไผ่ไว้กินเอง วิถีธรรมชาติทำง่ายไม่ยาก
สำหรับผักที่เหมาะกับการปลูกในกระบอกไม้ไผ่นั้น ควรเป็นผักอายุสั้น เเละไม่มีรากมากจนเกินไปนัก การปลูกเหมาะสมกับการหยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงหลุมในกระบอกไม้ไผ่มากกว่าการนำต้นกล้าที่เพาะจากภาชนะเพาะมาปลูก
การทำชุดปลูกผักจากกระบอกไม้ไผ่ขั้นต้นคือการเตรียมไม้ไผ่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่จะนำไปวาง จากนั้นตัดไม้ไผ่ขนาดยาวประมาณ 1.50-2 เมตร เลือกปล้องที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้สามารถบรรจุดินได้มากเพียงพอในการปลูกผัก
เลื่อยเหนือข้อไม้ไผ่ทั้ง 2 ด้านให้ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วใช้มีดฟันเซาะไปตามเเนวยาว จากนั้นใช้ค้อนตอกข้อไม้ไผ่ให้ทะลุเป็นช่องยาว เพื่อสะดวกสำหรับบรรจุดิน และเป็นทางสำหรับน้ำซึมผ่าน เว้นไว้เฉพาะข้อไผ่ที่อยู่ตรงปลายของทั้งสองข้างเพื่อกั้นดินและน้ำไม่ให้ไหลออก
จากนั้นหาไม้มาสร้างฐานเพื่อวางไม้ไผ่หรือจะเอาไม้ผ่าบากปลายให้เป็นง่ามสำหรับรองรับก็ได้ โดยฐานอาจจะยาวไม่เท่ากัน ขึ้นกับความลาดเอียงของพื้นที่ แต่ไม่ควรให้เอียงเกิน 5 เซนติเมตร เเละระยะห่างของไม้ฐานเเต่จุดควรอยู่ที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร สำหรับรองรับน้ำหนัก ตอกไม้ในเเนวขวางในเเต่ละช่วงของกระบอกไม้ไผ่ที่นำมาทำเป็นบาน เพื่อยึดให้ฐานติดกัน จะสามารถรับน้ำหนักรางไม้ไผ่ได้เต็มที่ แล้วโรยเเกลบไปตามเเนวยาวของรางไม้ไผ่ หนาประมาณ 1 นิ้ว เพื่อรองพื้นให้เป็นทางน้ำไหลซึมผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ดียิ่งขึ้น แล้วบรรจุปุ๋ยหมักลงตามด้วยเเกลบรดน้ำให้ชุ่มอย่างทั่วถึงเพื่อให้เกิดการยุบตัวของแกลบ จากนั้นใส่ดินที่ผสมปุ๋ยหมักลงไปที่ชั้นบน นำกระบอกไม้ไผ่ที่บรรจุดินเรียบร้อยเเล้วขึ้นตั้งบนยอดไม้ฐานให้เข้าร่องที่คว้านไว้รองรับ โดยให้ด้านหน้าของชุดปลูกหันเอียงไปทางทิศตะวันออกเพื่อให้ผักได้รับแสงเเดดอย่างน้อยครึ่งวันในแต่ละวัน
สำหรับผักที่เหมาะกับการปลูกในกระบอกไม้ไผ่นั้น ควรเป็นผักอายุสั้น เเละไม่มีรากมากจนเกินไปนัก การปลูกเหมาะสมกับการหยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงหลุมในกระบอกไม้ไผ่มากกว่าการนำต้นกล้าที่เพาะจากภาชนะเพาะมาปลูก โดยหยอดหลุมละ 3-4 เมล็ด ข้อดีของการนำไม้ไผ่มาทำเป็นภาชนะปลูกคือย่อยสลายง่ายเมื่อเลิกการใช้ประโยชน์ และเหมาะกับการปลูกพืชเพราะสามารถรักษาอุณหภูมิเเละความชื้นได้ดีกว่าภาชนะอื่น ๆ โดยเฉพาะท่อพีวีซี ที่บางพื้นที่นำมาใช้ทำการปลูกผักแบบนี้ ซึ่งก็ทำได้เช่นกัน
สำหรับการให้น้ำแน่นอนว่าต้องดูแลนิดนึง ด้วยพื้นที่จำกัด และดินมีน้อย การเจริญของต้นพืชจึงต้องอาศัยน้ำเป็นส่วนสำคัญ จะต้องรดน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น แบบชุ่มฉ่ำ
แต่บางแห่งก็แก้ปัญหาน้ำด้วยการทำท่อน้ำหยดมาวางไว้ ปล่อยน้ำให้หยดตลอดเวลา ซึ่งก็จะดีต่อต้นพืช และไม่ต้องเสียเวลาสำหรับผู้เพาะปลูก เพียงคอยดูแลการเจริญเติบโต หรือยามที่เกิดลมแรงที่อาจพัดแรงทำให้ต้นผักที่ปลูกโอนเอียงเสียรูปทรงได้
การปลูกผักด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการบำรุง เพราะเริ่มต้นการผสมดินด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ แนะนำ ปุ๋ยมูลค้างคาว แกลบและดินปลูก จึงเพียงพอต่อความต้องการของต้นพืชทุกชนิดที่นำมาปลูก เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็สามารถตัดมาบริโภคภายในครัวเรือนได้ พร้อมปลูกทดแทนไปอย่างต่อเนื่อง ก็จะมีผักไว้กินประจำครอบครัว ได้ตลอดทั้งปี แถมเป็นสวนประดับสร้างความสวยงามให้กับบริเวณที่อยู่อาศัยได้อีกด้วย
เครดิต: dailynews.co.th/agriculture/351124
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น