เตือนผู้สูงอายุ ปวดเข่าเป็นๆ หายๆ เสียง "โรคข้อเข่าเสื่อม "



"โรคข้อเข่าเสื่อม" หนึ่งในโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ หรือที่ใครหลายๆ คนเรียกกันจนติดปากว่า คนแก่ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะมีประชากรที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ วัยสูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมถอยลง ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายก็จะมีประสิทธิภาพน้อยลง ส่งผลให้ผู้ผู้อายุมีปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้ 

โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานมาก เมื่อมีการใช้งานผิวข้อที่สึก จะเกิดการขัดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืด ยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ

ผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการแรกเริ่มคือ ปวดเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อพักการใช้เข่า อาการปวดจะทุเลา และปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อมากขึ้น ในรายที่เป็นมากจะปวดตลอดเวลา ข้อฝืด ใช้งานไม่ถนัด ข้อผิดรูป ข้อเข่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เข่าบวมโต หรือบางรายมีขาโก่งออก แทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมชำรุดไป

สำหรับแนวทางการรักษานั้นมีหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้เป็นหลัก เช่น การทำกายภาพบำบัด การบริหารกล้ามเนื้อ หรือการให้ยาบรรเทาอาการสำหรับผู้ที่มีอาการไม่มาก แต่สำหรับผู้ที่มาด้วยอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างชัดเจนนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีฉีดน้ำไขข้อเทียมเพื่อลดอาการปวด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาจะทำให้มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม การฉีดน้ำไขข้อเทียม น้ำไขข้อเป็นสาร Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในข้อของมนุษย์ มีลักษณะเหนียว และยืดหยุ่นสูง ทำให้ข้อต่างๆ โดยเฉพาะผิวกระดูกข้อเข่าไม่ได้รับแรงกดหรือกระแทกมากเวลาคนเราเดินหรือวิ่ง นอกจากนั้น สารนี้ยังช่วยให้เกิดความลื่นที่ผิวกระดูกอ่อนเวลางอหรือเหยียดหัวเข่า การเสียดสีที่ผิวกระดูกจะน้อยลง ทำให้กระดูกอ่อนผุกร่อนลดน้อยลงตามไปด้วย ส่งผลให้ข้อเข่าอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อนน้อยลงเช่นกัน

โดยปกติคนเราจะมีน้ำในข้อเข่าอยู่ประมาณ 1-2 ซีซี เท่านั้น เมื่ออายุมากขึ้นน้ำในข้อเข่าก็จะมีปริมาณลดลงโดยเฉพาะคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม มักพบว่าน้ำในข้อเข่ามีปริมาณที่น้อยมาก คนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรงน้ำในเข่าแทบจะแห้งผากจนไม่มีเหลือเลย สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คืออาการของข้อเข่าเสื่อมจะลุกลามเร็วมากขึ้นไปอีก บางคนเข่าโก่งขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดภายใน 1 ปี และสำหรับผู้ที่มีอาการมาก ๆ หรือได้รับการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในปัจจุบันข้อเข่าเทียมสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงธรรมชาติ และเป็นวิธีการรักษาที่ลดอาการปวดได้ดี มีอายุการใช้งานประมาณ 10 – 15 ปี

โดยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น มีการนำคอมพิวเตอร์นำวิถีเข้ามาช่วยในการผ่าตัด ร่วมกับเทคนิคการรักษาแบบไม่ต้องปักหมุด เปรียบเสมือนการสร้างภาพจำลองในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ Image guided surgery by Navigation system นวัตกรรมดังกล่าวนี้จะช่วยให้สามารถควบคุม ปรับตำแหน่ง ตรวจสอบทิศทางและตำแหน่งของการวางข้อเทียมในร่างกายรวมถึงบอกขั้นตอนการผ่าตัด โดยสามารถบอกตำแหน่งการวางข้อเทียมได้อย่างละเอียด และยังสามารถช่วยศัลยแพทย์ให้ทำการตัดสินใจโดยทราบข้อมูลล่วงหน้าได้ในเวลาที่เหมาะสม เป็นการช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาของการวางข้อเข่าเทียมในร่างกายคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งที่ควร ยิ่งร่วมกับการผ่าตัดด้วย

ดังนั้นสำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า หรือเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายแล้วมีเสียงดังตามข้อ ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อรับการวินิจฉัยและรับคำแนะนำ ถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ไม่ควรทนปวดหรือหาซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเอง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ข้อเข่าของคุณอาจเสื่อมสภาพจนยากที่จะรักษาให้มีสภาพเดิมเอาไว้ได้ และคุณก็อาจจะกลายเป็นคนแก่ที่พิการได้ในที่สุด

เดี๋ยวจากที่ปัจจุบันมีการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นโดยการผ่าตัด แต่ก็มีหลายๆคนที่ไม่ต้องการผ่าตัด เราจึงมีคำแนะนำให้รักษาด้วยการแพทย์แผนทางเลือกซึ่งจะใช้สมุนไพรในการบำบัด ซึ่งสามารถรักษาควบคู่ไปกับการกายภาพบำบัด เช่นการใช้ยาน้ำสมุนไพรจีนโหย่งเหิง หรือ ยาเม็ดสมุนไพรจีนโหย่งหมิง ซึ่งมีตัวยาสมุนไพร เช่น ตังถั่งเฉ้าปัก,เต็กย้ง(เขากวาง),เก๊ากี๊,โต่วต๋ง  และอีกกว่า กว่า 30 ชนิด ที่ช่วยปรับสภาพสมดุลของร่างกายปรับสภาพเลือด บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โดยสมุนไพรธรรมชาติ และขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยบำบัดรักษาโรคแห่งความเสื่อมต่างๆให้ดีขึ้น

เครดิต. health.mthai 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็บคอมากขนาดไหน สังเกตตัวเองด่วนว่าเป็น ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือไม่ !!

FISH OIL น้ำมันปลา ดีต่อสุขภาพอย่างไร เรื่องที่คุณต้องรู้

“ไม่ฟอกไต ฟอกเลือด ล้างไต” ได้หรือไม่?