เป็น "โรคภูมิแพ้" ต้องรู้อะไรบ้าง?
ปัจจุบัน "โรคภูมิแพ้" เป็นโรคที่พบได้บ่อย สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ได้แก่ โรคแพ้นมวัว หรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น และในวัยเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ได้แก่ โรคแพ้อากาศ โรคภูมิแพ้ของเยื่อบุตาขาว โรคหืด หรือโรคแพ้อาหารทะเล เป็นต้น
วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับโรคว่าสิ่งที่ควรรู้เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว
1. โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด มักจะมีอาการ เป็นๆ หายๆ
2. มีสิ่งที่สามารถกระตุ้น ให้ผู้ป่วยเกิดอาการขึ้นมาได้หลายประเภท ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ความเครียด, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, อารมณ์เศร้า, วิตก, กังวล, เสียใจ , ของฉุน, ฝุ่น, ควัน, อากาศที่เปลี่ยนแปลง (จึงจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยง โดยสังเกตว่า อยู่ในสิ่งแวดล้อมใด, สัมผัสอะไร หรือรับประทานอะไร แล้วอาการมากขึ้น ให้หลีกเลี่ยง) และควรจัดบ้านและจัดห้องนอน ตามคำแนะนำของแพทย์
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือ หวัด จึงควรป้องกันไม่ให้เป็น โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เช่น เครียด, นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การสัมผัสอากาศที่เย็นมากเกินไป เช่น ขณะนอน เปิดแอร์หรือพัดลมเป่าจ่อ ไม่ได้ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเพียงพอ การดื่มหรืออาบน้ำเย็น ตากฝน หรือสัมผัสอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากร้อนเป็นเย็น จากเย็นเป็นร้อน หรือมีคนรอบข้างที่ไม่สบายคอยแพร่เชื้อให้
3. ควรออกกำลังกาย แบบแอโรบิก อย่างสม่ำเสมอ [การออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้นต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง, เดินเร็ว, ขึ้นลงบันได, ว่ายน้ำ, ขี่จักรยานฝืด (แบบปรับน้ำหนักได้เช่น ใน FITNESS), เตะฟุตบอล, เล่นเทนนิส, แบดมินตัน หรือบาสเกตบอล] เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ความไวของเยื่อบุจมูกและ/หรือ หลอดลมลดลง ทำให้ความจำเป็นในการใช้ยา ลดน้อยลง และทำให้มีภูมิต้านทานต่อหวัด ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการภูมิแพ้ แย่ลง โดยจะเป็นหวัดยาก หรือเป็นแล้วหายง่าย
4.โรคนี้แพทย์ไม่ได้ให้ผู้ป่วยพ่นยา, สูดยา หรือรับประทานยาไปตลอดชีวิต เมื่อใดที่ผู้ป่วยสามารถลดเหตุได้ (ดูข้อ 2 และ 3) ก็สามารถลดยาได้ โดยในระยะแรก แพทย์จะเป็นผู้ปรับยาให้
5.เนื่องจากโรคภูมิแพ้ นั้นทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจ, ผิวหนัง, เยื่อบุตา, ทางเดินอาหาร ไวผิดปกติ เมื่อมีสิ่งกระตุ้น (ดูข้อ 2) จะทำให้มีอาการมากขึ้นได้ ซึ่งมักจะมีอาการได้ง่าย และหายยาก ดังนั้น เมื่อมีอาการ แนะนำให้เพิ่มการใช้ยามากขึ้น เพื่อให้หายจากอาการดังกล่าวเร็วที่สุด (ตัดไฟแต่ต้นลม) เช่น
- เมื่อมีอาการทางตา อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ หยอดยาหยอดตาแก้แพ้
- เมื่อมีอาการทางจมูก อาจล้างจมูก, อบไอน้ำเดือด, พ่นยา และ /หรือ รับประทานยาแก้แพ้
- เมื่อมีอาการทางผิวหนัง อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ ทายาแก้คัน
- เมื่อมีอาการทางหลอดลม อาจสูดยา หรือพ่นยา เข้าหลอดลมให้มากขึ้นและ /หรือ รับประทานยาขยายหลอดลม หรือยาแก้ไอ
- เมื่อมีอาการทางเดินอาหาร อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ ยาแก้คลื่นไส้/ อาเจียน หรือยาแก้ท้องเสีย
เมื่ออาการดังกล่าวดีขึ้น ก็ค่อยๆลดยาดังกล่าวลงเอง หรือลดลงเท่ากับที่แพทย์แนะนำ (เมื่อมีอาการมาก เป็นมาก ก็ให้ใช้ยามาก เมื่อมีอาการน้อย เป็นน้อยลง ก็พิจารณาลดยาลง)
แต่เดี๋ยวก่อนยังมีทางเลือกอีกทาง จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้มีการรักษาจากแพทย์แผนทางเลือกควบคู่กันไปด้วย โดยใช้ยาสมุนไพรบำบัด ซึ่งไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาแผนปัจุบัน เช่น เช่น ยาน้ำสมุนไพรโหย่งเหิง หรือ ยาเม็ดสมุนไพรโหย่งหมิง ซึ่งมีตัวยาสมุนไพร เช่น ตังถั่งเฉ้าปัก,เต็กย้ง(เขากวาง),เก๊ากี๊,โต่วต๋ง ซึ่งช่วยบำรุงเลือด และอีกกว่า กว่า 30 ชนิด ที่ช่วยปรับสภาพสมดุลของร่างกายปรับสภาพเลือด โดยสมุนไพรธรรมชาติ และขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยบำบัดรักษาโรคแห่งความเสื่อมต่างๆ
เครดิต. สสส. ,รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น